วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พระพิมพ์ไม่ใช่พระเครื่อง

หนุ่ย บางพลี 
      
ผมอ่านบทความนี้เจอในคมชัดลึกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 เลยนำมาฝากให้อ่านกันครับ

รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดมกับคำนิยาม...'พระพิมพ์ไม่ใช่พระเครื่อง
บทความ สรณะคนดัง เรื่องและภาพ โดยสุพิชฌาย์ ศูนย์ข่าวภาคใต้ หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ฉบับวันที่ 1ตุลาคม 2554


          การศึกษาประวัติศาสตร์ เรื่องราวทางโบราณคดีช่วยให้ได้รับรู้ที่มาที่ไปของสรรพสิ่งตั้งแต่ยุคอดีตจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน แต่การค้นคว้าให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกซ่อนเร้นด้วยกาลเวลาย่อมมิใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่าง เพื่อให้ได้มาซึ่งกุญแจในการไขปริศนาสิ่งที่มนุษย์ใคร่รู้ เช่นเดียวกับ "รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม" นักวิชาการ นักโบราณคดี นักมานุษยวิทยา เป็นผู้ทำงานศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงงานวิชาการ
          ด้วยประสบการณ์ที่คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดี ทำให้ รศ.ศรีศักดิ์ มีมุมมองในการแขวนพระแตกต่างไปจากคนอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง โดยแยกวัตถุมงคล หรือที่คนในวงการพระเรียกว่า พระเครื่องออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ พระพิมพ์กับ พระเครื่อง

          พระพิมพ์ในความหมายของนักโบราณคดีชื่อดังคือ วัตถุหรือสัญลักษณ์ที่เป็นดั่งตัวแทนพระพุทธองค์ ที่สร้างขึ้นเพื่อสืบสานพระพุทธศาสนาให้ดำรงและคงอยู่ในอาณาบริเวณแห่งนั้น หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เรื่องของพระพุทธศาสนาล้วนๆ เช่น พระรอด พระคง พระเปิม พระบาง เป็นต้น
          ส่วน พระเครื่องเป็นวัตถุที่ว่าด้วยเรื่องของไสยศาสตร์ โดยเอาอำนาจเหนือธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ยังเกื้อกูลต่อกันและกันอย่างแยกไม่ออก สำหรับสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม หากเจาะลึกลงไปในแก่นของเรื่อง พระเครื่องจะพบว่ามีทั้งไสยศาสตร์สายขาวเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในกระบวนการร่วมจรรโลงศาสนา เช่น การประกอบพิธีกรรมต่างๆ อันเป็นสิริมงคล
             ส่วน ไสยศาสตร์สายดำคือเครื่องมือที่มุ่งเน้นแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตนมากกว่าสร้างผลดีต่อส่วนรวม  หรือที่เรียกว่า อวิชชานั่นเอง
             ทั้งนี้ ต้องยอมรับการสร้างพระเครื่องนั้น จากเดิมทางวัดหรือชาวบ้านร่วมกันสร้าง เพื่อหาปัจจัยมาใช้จ่ายในการบูรณปฏิสังขรณ์วัด หรือสร้างศาสนสถาน แต่ในทุกวันนี้ได้ถูกอิทธิพลของพุทธพาณิชย์เข้ามามีบทบาท จนแทบไม่เหลือคราบของการทำบุญ และนับวันจะกลายเป็นการซื้อบุญเสียมากกว่า
             ด้วยเหตุนี้ รศ.ศรีศักดิ์ จึงพิสมัยใน "พระพิมพ์" โดยอาราธนาแขวนพระพิมพ์เนื้อดินเผาสมัยศรีวิชัย ขึ้นคล้องคอ ด้วยเหตุผลที่ชอบและหลงใหลในความงามทางศิลปะสมัยศรีวิชัย รวมทั้งยังเกิดความรู้สึกสบายใจทุกครั้งที่มีพระองค์นี้ติดตัว
             สำหรับ พระพิมพ์เนื้อดินเผาสมัยศรีวิชัย นั้น ในระยะแรกที่มีการแตกกรุออกมาจะมีพระพิมพ์หลากหลายรูปแบบ ที่พบมากคือ ลักษณะทรงกลมคล้ายเม็ดกระดุม จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า พระเม็ดกระดุมเรื่อยมากระทั่งมีนักวิชาการได้ตรวจสอบอย่างละเอียดจึงพบว่าเป็น พระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เรืองอำนาจ จึงเรียกชื่อพระพิมพ์นี้ว่าพระเม็ดกระดุมศรีวิชัย
             แต่กระนั้น การเรียกชื่อพระพิมพ์เหล่านี้ก็ยังไม่มีที่สิ้นสุด เนื่องจากยังมีการเรียกชื่ออื่นๆ เพิ่มเติมอีก เช่น  “พระงบน้ำอ้อยศรีวิชัยและพระธรรมจักรศรีวิชัยส่วนเหตุที่เรียกเช่นนั้นก็ล้วนแต่เป็นไปตามลักษณะของพระพิมพ์ที่พบ
          ทุกอย่างมันผสานกันจนเกือบเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งที่ช่วยตัวเองไม่ได้โดยลำพัง จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคม โดยเฉพาะยามที่มีปัญหาด้านจิตใจ ต้องแสวงหาที่พึ่ง หนึ่งในนั้นคือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งพระพิมพ์และพระเครื่อง จึงเป็นหนึ่งในหนทางที่มนุษย์เชื่อว่า เยียวยาทุกข์ทางใจได้ แต่ชีวิตของมนุษย์ทุกคนจะพึ่งพิงและหวังให้อยู่รอดได้ด้วยเพียงวัตถุมงคลอย่างเดียวคงไม่ได้ แต่ยังต้องขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมของแต่ละคน หรือที่พูดกันตามภาษาชาวบ้านจนติดปากว่า ขึ้นอยู่กับเวรกรรมนั่นเอง ดังนั้น สิ่งที่พอจะเสริมสร้างให้ชีวิตได้ประสบกับปาฏิหาริย์ความศักดิ์สิทธิ์ในสิ่งที่เรายึดและศรัทธาได้นั้นต้องรู้จักก่อกรรมดี ตั้งตนอยู่ในศีลและธรรมบ้างรศ.ศรีศักดิ์ กล่าว
             พร้อมกันนี้ รศ.ศรีศักดิ์ ยังบอกด้วยว่า "แขวนพระเพราะต้องการที่พึ่งทางใจ แขวนพระเราต้องรู้ ต้องศึกษาว่าแขวนแล้วชีวิตได้อะไร อย่าปล่อยให้วัตถุมงคลกลายเป็นเพียงแค่วัตถุนิยม เพราะนั่นไม่ใช่หนทางจรรโลงพระพุทธศาสนาที่แท้จริง ดังนั้น แขวนพระองค์ไหนแล้วรู้สึกสบายใจจนสามารถช่วยให้ทำงาน หรือก้าวผ่านวิกฤติในชีวิตไปได้ ผมจะแขวนองค์นั้น โดยที่ผ่านมาเห็นจะมีแต่พระพิมพ์ดินเผาสมัยศรีวิชัยเท่านั้น ที่ถูกโฉลก เพราะแขวนแล้วหายเครียด และปลดเปลื้องจากความทุกข์ใจได้เสมอรศ.ศรีศักดิ์ กล่าว
             นอกจากนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของนักโบราณคดีชื่อดังคือ ทุกวันก่อนนอนและตื่อนเช้าจะต้อง สวดมนต์ โดยเฉพาะบทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง) เพราะเป็นสิริมงคลกับชีวิต และที่ผ่านมา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็ไม่เคยห่างจากคาถาบทนี้

ฟูกูโอกะ"...รางวัลแห่งความภูมิใจ

             งานวิจัยของรศ.ศรีศักดิ์ ครอบคลุมหลายแขนง โดยเฉพาะงานสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และงานวิจัยเกี่ยวกับอาณาจักรโบราณของไทย จนเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยแล้ว ผลงานยังกระฉ่อนไปถึงต่างแดน จนได้รับรางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟูกูโอกะ ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งเป็นรางวัลที่นครฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น มอบให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม  โดยเฉพาะผลงานที่จรรโลงและสร้างสรรค์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย ก่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมเอเชีย และส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในภูมิภาค
             รศ.ศรีศักดิ์ เป็นชาวไทยอีกคนที่ได้รับรางวัลฟูกูโอกะ ที่เริ่มประกาศเกียรติคุณให้ผู้อุทิศตนในการทำหน้าที่ในด้านต่างๆ มาตั้งแต่พ.ศ.๒๕๓๓ โดยคนไทยที่เคยได้รับรางวัลนี้มาแล้ว คือ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับรางวัลก่อตั้งพิเศษ ใน พ.ศ.๒๕๓๓  (ครั้งที่๑) ในสาขานักประพันธ์ และนักการเมือง จากนั้น ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้รับรางวัลสูงสุดใน พ.ศ.๒๕๓๗ (ครั้งที่ ๕) สาขานักโบราณคดี และนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ตามมาด้วย ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้รับรางวัลผลงานวิชาการใน พ.ศ.๒๕๔๒  (ครั้งที่ ๑๐) สาขานักประวัติศาสตร์ และคุณถวัลย์ ดัชนี ได้รับรางวัลศิลปะและวัฒนธรรมใน พ.ศ.๒๕๔๔ (ครั้งที่๑๒ ) สาขาจิตรกร
             นอกจากนี้แล้ว รศ.ศรีศักดิ์ ยังมีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยา ไว้อย่างมากมาย และเป็นบรรณาธิการนิตยสาร "เมืองโบราณ" เป็นเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานสนับสนุนการวิจัย เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร รวมทั้งเป็นที่ปรึกษามูลนิธิ เล็ก ประไพ วิริยะพันธุ์


ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20111001/110620/

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ราคารับซื้อ พระหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใหญ่ จ.สมุทรปราการ

หนุ่ย บางพลี



1.หลวงพ่อโตหล่อโบราณพิมพ์กรุแตกหลังเรียบ ปี 2522
พิมพ์กรุแตกหลังเรียบปี 2522
ราคารับซื้อ 3,000 บ.
รูปตัวอย่างพระหลวงพ่อโตหล่อโบราณ


2.หลวงพ่อโตหล่อโบราณพิมพ์กรุแตกหลังยันต์ ปี 2523
ราคารับซื้อ 700 บ.
รูปตัวอย่างพระหลวงพ่อโตหล่อโบราณ
พิมพ์กรุแตกหลังยันต์ ปี 2523


3.หลวงพ่อโตหล่อพิมพ์กรุแตกหน้าโสธร ตอกบ.พ. ปี 2531ราคารับซื้อ 300 บ.
รูปตัวอย่างหลวงพ่อโตหล่อพิมพ์กรุแตกหน้าโสธร ตอกบ.พ. ปี 2531



4.หลวงพ่อโตหล่อพิมพ์กรุแตกหน้าโสธรไม่ตอกบ.พ. ปี 2531ราคารับซื้อ 300 บ.
รูปตัวอย่างหลวงพ่อโตหล่อพิมพ์กรุแตกหน้าโสธรไม่ตอกบ.พ. ปี 2531

5.หลวงพ่อโตหล่อโบราณพิมพ์กรุแตกหลังเรียบดอกพิกุล ปี 2537 ราคารับซื้อ 1,000บ.
รูปตัวอย่างหลวงพ่อโตหล่อโบราณพิมพ์กรุแตกหลังเรียบดอกพิกุล ปี 2537


หมายเหตุ : ราคาของพระอยู่ในสภาพสวย  สมบูรณ์ และไม่ผ่านการล้าง

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม
ได้ที่ www.หนุ่ยบางพลี.com
ขอบคุณครับ

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน สมุทรปราการ รุ่นกรุแตก6

หนุ่ย บางพลี
พระหลวงพ่อโต กรุแตกรุ่น ๖
จำนวนพิมพ์          พิมพ์
ปีที่สร้าง               พ.ศ. ๒๕๓๗
จำนวนสร้าง        พิมพ์ที่ ๑           ๑๐,๐๐๐  องค์
                             พิมพ์ที่ ๒          ๕๐,๐๐๐  องค์
ขนาด      พิมพ์ที่ ๑  กว้าง  ๓ เซนติเมตร  x  สูง  ๔.๔ เซนติเมตร
                พิมพ์ที่ ๒ กว้าง  ๓ เซนติเมตร  x  สูง  ๔.๔ เซนติเมตร
ลักษณะองค์พระ   
                    พิมพ์ที่ ๑    พระหลวงพ่อโตพิมพ์ปางมารวิชัย  ออกแบบตามศิลปะของพระพุทธรูป  สมัยเขมร-ลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๑๙  แบบเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำด้วย ทองเหลืองตัดขอบตามองค์พระ พร้อมฐานกลีบบัว  ด้านหลังองค์พระเป็นพื้นเรียบ  พิมพ์ทั่วไปเป็นเช่นเดียวกับพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๑  
                  พิมพ์ที่ ๒   พระหลวงพ่อโตพิมพ์ปางมารวิชัย  ออกแบบตามศิลปะของพระพุทธรูปสมัยเขมร-ลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๑๙  แบบเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำด้วยทองเหลือง ตัดขอบตามองค์พระ พร้อมฐานกลีบบัว  ด้านหลังองค์พระเป็นยันต์หลวงปู่พุฒิ  พิมพ์ทั่วไปเป็นเช่นเดียวกับพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒  

ประวัติ
               พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๖ ได้มีการสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ จากพุทธคุณของหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๕ ใกล้หมดลง หลวงปู่พุฒิ(พระครูวุฒิธรรมสุนทร) จึงทำการสร้างหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น๖ข้น โดยกำหนดให้มี๒พิมพ์ โดยใช้ พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๑และ๒ เป็นต้นแบบ หลังเข้าพิธีพุทธาภิเษกแล้วจึงนำเก็บเข้าห้องเก็บไว้ในห้องเก็บใต้ฐานอุโบสถเพื่อรอการออกจำหน่าย เนื่องจากพระที่สร้างขึ้นมีจำนวนมาก กว่าที่จะทยอยออกจำหน่าย จึงใช้เวลานานจนเกิดสนิมเขียวอ่อนและคารบเกลือขาวขึ้นทั่วทั้งองค์พระจากความชื้นเป็นสาเหตุ

ประสบการณ์  
                  พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๖  มีพุทธคุณในเรื่องของการมีเมตตามหานิยม และการแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้ง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่โดดเด่นในองค์พระหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่

ข้อมูลควรทราบ
                    ๑.พระหลวงพ่อโตรุ่นกรุแตกรุ่น๖นี้ เป็นพิมพ์ที่สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด ได้ทำออกมา๒พิมพ์โดย
พิมพ์ที่๑ เป็นพิมพ์ที่มีการสร้างน้อย จึงเป็นที่ต้องการของประชาชนทั่วไป
พิมพ์ที่๒ เป็นพิมพ์ที่มีการสร้างจำนวนมากถึง ๕๐,๐๐๐ องค์ จึงยังคงไม่ยากที่จะหาไว้ครอบครอง
                   ๒.พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๖ นี้ จะมีผิวองค์พระเป็นสีเขียวทั่วทั้งองค์สม่ำเสมอ เพราะเนื้อทองเหลืองคุณภาพดี
                   ๓. พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๖  มักมีผู้นำไปปัดเงาลอกสนิมเพราะจะได้เนื้อทองเหลืองที่สุกสดใส มีผิวเรียบ ยังไม่โดนการกัดกร่อนของสนิมเข้าไปในเนื้อ
                   ๔.จากที่ในปัจจุบันยังไม่มีพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น๗สร้างออกจำหน่าย จึงปรากฏผู้ทำการลอกเลียนแบบมาก สนิมเขียวจึงเป็นตัวช่วยในการเลือกพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๖ของแท้
                   ๕.ราคาที่จำหน่ายพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๖ในครั้งสุดท้ายก่อนของหมดลง อยู่ในราคา ๕๐๐บาทต่อองค์พร้อมกล่องบรรจุพลาสติค 

ที่มา : หนังสือกรุแตกรุ่น๑ หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมุทรปราการ

ท่านที่มีข้อมูลหรือประสบการณ์เกี่ยวกับพระรุ่นนี้ ร่วมแชร์ความคิดเห็นได้ช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างครับ

ขอบคุณที่ติดตามครับ

หนุ่ย บางพลี

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน สมุทรปราการ รุ่นกรุแตก5

หนุ่ย บางพลี 



พระหลวงพ่อโต กรุแตกรุ่น ๕
จำนวนพิมพ์              พิมพ์
ปีที่สร้าง                  พ.ศ. ๒๕๓๖
จำนวนสร้าง            ๒๐,๐๐๐  องค์
ขนาด                      กว้าง  ๓ เซนติเมตร  x  สูง  ๔.๔ เซนติเมตร
ลักษณะองค์พระ     พระหลวงพ่อโตพิมพ์ปางมารวิชัย  ออกแบบตามศิลปะของพระพุทธรูปสมัย  เขมร-ลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๑๙  แบบเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำด้วยทองเหลืองตัดขอบตามองค์พระ พร้อมฐานกลีบบัว  ด้านหลังองค์พระเป็นยันต์หลวงปู่พุฒิ   (พิมพ์ที่ใช้สร้างเป็นพิมพ์ของพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒)

ประวัติ
               พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๓ ได้มีการสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ด้วยดำริของหลวงปู่พุฒิ(พระครูวุฒิธรรมสุนทร) ที่ท่านเมตตาให้สร้างพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๕โดยใช้แม่พิมพ์เดียวกับหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่นที่๒ทุกประการ  เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มีกระแสการเช่าหาของหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น๑,๒และ๓ เป็นจำนวนมาก หลังจากทำพิธีปลุกเสกแล้วได้นำออกจำหน่ายให้แก่ประชาชน

ประสบการณ์  
                  พุทธคุณในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพระหลวงพ่อโตกรุแตกทุกรุ่น  ยังคงเป็นที่ปรากฏในหมู่ประชาชน ทั้งในเรื่องพุทธคุณโดดเด่นเรื่องการแคล้วคลาด ภยันตรายจากอุบัติภัยทั้งปวง ทำให้พระหลวงพ่อโตกรุแตกทุกรุ่น มีชื่อเสียง  การได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุไม่มีเกิดขึ้นกับผู้ที่เคารพในองค์หลวงพ่อโต และมีพระเครื่องหลวงพ่อโตติดตัวในการเดินทาง

ข้อมูลควรทราบ
                   ๑.พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๕ นี้ใช้พิมพ์เดียวกันกับพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒ทุกประการ  แต่มีอายุการสร้างน้อยกว่ามาก  การเกิดสนิม มาจากห้องเก็บพระที่มีความชื้นสูง
                   ๒.คุณภาพของเนื้อทองเหลืองที่ใช้ในการสร้างองค์พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น๕นี้มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ สนิมที่เกิดขึ้นจึงมี ลักษณะไปทางสีแดงดำ อาจมีจุดเขียวขึ้นเล็กน้อยประปราย

ที่มา : หนังสือกรุแตกรุ่น๑ หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมทุรปราการ

ท่านใดมีข้อมูลหรือประสบการณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับพระรุ่นนี้ ร่วมแชร์ความคิดเห็นได้ด้านล่างช่องแสดงความคิดเห็นครับ

ขอบคุณที่ติดตามครับ

หนุ่ย บางพลี

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน สมุทรปราการ รุ่นกรุแตก4

หนุ่ย บางพลี

 
พระหลวงพ่อโต กรุแตกรุ่น ๔
จำนวนพิมพ์              พิมพ์
ปีที่สร้าง                  พ.ศ. ๒๕๓๑
จำนวนสร้าง           พิมพ์ที่ ๑           ๒๐,๐๐๐  องค์
                                พิมพ์ที่ ๒           ๒๐,๐๐๐  องค์
ขนาด     พิมพ์ที่ ๑  กว้าง  ๓ เซนติเมตร  x  สูง  ๔.๓ เซนติเมตร
               พิมพ์ที่ ๒ กว้าง  ๓ เซนติเมตร  x  สูง  ๔.๒ เซนติเมตร
ลักษณะองค์พระ   
พิมพ์ที่ ๑    พระหลวงพ่อโตพิมพ์ปางมารวิชัย  ออกแบบตามศิลปะของพระพุทธรูป สมัยเขมร-ลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๑๙  แบบเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำด้วยทองเหลืองตัดขอบตามองค์พระ พร้อมฐานกลีบบัว  ด้านหลังองค์พระเป็นพื้นเรียบ พิมพ์ทั่วไปเป็นเช่นเดียวกับพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๑  ๒ และ๓ แต่เฉพาะหน้าองค์  พระเป็นแบบพระพุทธโสธร
พิมพ์ที่ ๒   พระหลวงพ่อโตพิมพ์ปางมารวิชัย  ออกแบบตามศิลปะของพระพุทธรูป สมัยเขมร-ลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๑๙  แบบเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำด้วย ทองเหลืองตัดขอบตามองค์พระ พร้อมฐานกลีบบัว ขอบใต้ฐานองค์พระมีการลง  ตัวอักษรบ.พ. (หมายถึง บางพลีใหญ่)ด้านหลังองค์พระเป็นพื้นเรียบ นูนโค้ง   พิมพ์ทั่วไปเป็นเช่นเดียวกับพิมพ์ที่๑ แต่เฉพาะหน้าองค์พระเป็นแบบพระพุทธโสธรที่มีรอยยิ้มกว้างกว่า

ประวัติ
             พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๔ ได้มีการสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยคณะกรรมการวัด ในสมัยที่หลวงปู่พุฒิ(พระครูวุฒิธรรมสุนทร) เป็นเจ้าอาวาส    โดยมีเจตนาในการเสริมสร้างพระบารมีของหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ในและพระหลวงพ่อพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยในขณะนั้นกิตติศัพท์ในเรื่องพุทธคุณของหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๑ ๒และ๓ เป็นที่เลื่องลือ อีกทั้งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าพระสามพี่น้อง ซึ่งมีหลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม  หลวงพ่อพุทธโสธร วัดโสธรวราราม และหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่  มีพุทธคุณเทียบเคียงกัน หากผู้ใดมีไว้ครอบครอง จะช่วยบันดาลให้แคล้วคลาดภยันตรายทั้งปวงได้  กรรมการวัดท่านมีความเคารพในองค์หลวงพ่อโตและหลวงพ่อโสธรเป็นอย่างยิ่ง เห็นว่าหากได้นำแบบของหลวงพ่อทั้งสององค์มาผสมผสานกันจะทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถระลึกถึงหลวงพ่อทั้งสององค์ได้ในคราวเดียวกัน  จึงมีการสร้างโดยใช้แบบของหลวงพ่อโตรุ่นกรุแตก เป็นพื้นฐาน จากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงหน้าองค์พระเป็นหลวงพ่อพุทธโสธร ทำให้องค์พระที่สร้างขึ้นมีความแปลกตา เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนผู้เคารพในพุทธคุณของหลวงพ่อโตและหลวงพ่อโสธร นอกจากนี้ยังได้มีการลงตัวอักษร บ.พ. ในพิมพ์ที่๒เพื่อระบุถึงวัดบางพลีใหญ่ในเป็นผู้สร้าง
             หลังจากการสร้างเสร็จ ความทราบถึงหลวงปู่พุฒิ(พระครูวุฒิธรรมสุนทร) เจ้าอาวาส   ท่านไม่เห็นด้วยกับพระพิมพ์ดังกล่าว จึงสั่งให้เก็บพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๔ ไว้เป็นสมบัติของทางวัด แต่ยังคงเมตตาให้พระพิมพ์ดังกล่าวได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกก่อนแล้วจึงเก็บเข้ากรุที่ห้องใต้ฐานอุโบสถนั่นเอง
              ในปีพ.ศ.๒๕๓๙ มีการตรวจสอบกรุใต้ฐานอุโบสถ พบว่าพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๔นี้ได้เปลี่ยนสภาพไปเล็กน้อย กล่าวคือองค์พระที่ทับซ้อนกันอยู่มีเศษปูน ทรายเข้าไปแทรกอยู่อีกทั้งปัญหาห้องฐานใต้อุโบสถมีความชื้นสูงมาก เศษปูนทรายจึงเกาะองค์พระแน่นในบริเวณตามซอกบางจุด บางจุดเป็นรอยสนิมแดงบ้างเล็กน้อย บ้างมีจุดสนิมเขียวเกิดขึ้นแต่น้อยมาก บางจุดยังคงเห็นเป็นผิวเนื้อทองเหลือง  หลังจากนั้นจึงมีการแพร่กระจายไปสู่การครอบครองของประชาชนทั่วไป

ประสบการณ์  
             พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๔  นี้มีประชาชน มีการกล่าวถึงพุทธคุณเป็นระยะๆ บางคนกล่าวว่าเป็นพุทธคุณของหลวงพ่อโสธร บ้างว่าเป็นพุทธคุณของหลวงพ่อโต ซึ่งขึ้นอยู่ว่าผู้ถือครองนั้นจะยึดเหนี่ยวหลวงพ่อองค์ใดไว้ในจิตใจ แต่ล้วนแล้วช่วยให้พ้นภยันตรายทั้งปวงไปได้

ข้อมูลควรทราบ
             ๑.พระหลวงพ่อโตรุ่นกรุแตกรุ่น๔นี้ เป็นพิมพ์ที่สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด ได้ทำออกมา๒พิมพ์โดย
พิมพ์ที่๑ เป็นพิมพ์ที่ไม่เป็นที่นิยม ด้วยเพราะเกิดข้อบกพร่องในการสร้าง โดยสร้างแบบขององค์พระบางเกินไปทำให้พระบางองค์มีการโค้งงอจากการสร้าง บิดเบี้ยวไปบ้าง อีกทั้งไม่ระบุเอกลักษณ์ของพระรุ่นนี้คือการไม่พิมพ์อักษรบ.พ.ที่ฐานองค์พระ
พิมพ์ที่๒ เป็นพิมพ์นิยม ด้านหน้าองค์พระมีรายละเอียดเนื้อหาเช่นเดียวกับหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่นอื่นๆแต่หน้าพระเป็นหน้าพระพุทธโสธรโดยพิมพ์ที่๒จะมีขนาดใบหน้าที่ใหญ่กว่า และรอยยิ้มที่กว้างกว่าพิมพ์ที่๑  มีการระบุเอกลักษณ์ของพระรุ่นนี้คือการพิมพ์อักษรบ.พ.ที่ฐานองค์พระ ตัวโตชิดขอบล่าง
             ๒.พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๔ นี้ได้ถูกสร้างเลียนแบบออกมาหลายครั้ง บางแบบจะมีใบหน้าของหลวงพ่อโสธรที่ผิดเพี้ยนไป บางแบบจะมีการใช้โลหะที่แตกต่างกันไป บางแบบจะมีอักษรบ.พ.ที่ฐานองค์พระขนาดเล็กกว่าปรกติ ที่พิมพ์ตัวโตและชิดขอบด้านล่าง
             ๓. พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๔  อาจมีคราบปูนทรายที่ไม่สม่ำเสมอทั่วองค์พระ บางองค์อาจเป็นคราบสนิมสีแดง หากมีสนิมเขียวเกิดขึ้นทั่วองค์พระจะเป็นรุ่นที่ไม่อยู่ในการจัดสร้างของทางวัด

ที่มา : หนังสือกรุแตก๑ หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมทุรปราการ

ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม หรือประสบการณ์เกี่ยวกับพระรุ่นนี้ ร่วมแชร์ความคิดเห็นได้ตรงช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้นะคะ

ขอบคุณที่ติดตาม

หนุ่ย บางพลี

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน สมุทรปราการ รุ่นกรุแตก3

หนุ่ย บางพลี 
พระหลวงพ่อโต กรุแตกรุ่น ๓
จำนวนพิมพ์              พิมพ์
ปีที่สร้าง                  พ.ศ. ๒๕๒๗
จำนวนสร้าง            ๑๐,๐๐๐  องค์
ขนาด                      กว้าง  ๓ เซนติเมตร  x  สูง  ๔.๔ เซนติเมตร
ลักษณะองค์พระ     พระหลวงพ่อโตพิมพ์ปางมารวิชัย  ออกแบบตามศิลปะของพระพุทธรูปสมัย  เขมร-ลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๑๙  แบบเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำด้วยทองเหลือง ตัดขอบตามองค์พระ พร้อมฐานกลีบบัว  ด้านหลังองค์พระเป็นยันต์หลวงปู่พุฒิ
ประวัติ
               พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๓ ได้มีการสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ด้วยดำริของหลวงปู่พุฒิ(พระครูวุฒิธรรมสุนทร) โดยใช้แม่พิมพ์เดียวกับหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่นที่๒ทุกประการ  เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มีกระแสการเช่าหาของหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น๑และ๒ เป็นจำนวนมาก
หลังจากทำพิธีปลุกเสกแล้วได้นำออกจำหน่ายให้แก่ประชาชน โดยแบ่งจำนวนพระส่วนหนึ่งออกแจกจ่ายให้กับประชาชนเพื่อเป็นการตอบแทนผู้บริจาคข้าวสารอาหารแห้งให้แก่ทางวัดในช่วงงานกลางเดือน๓ในปีพ.ศ.๒๕๒๘ จนกระทั่งพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๓หมดลงในปี๒๕๒๙

ประสบการณ์  
                  พุทธคุณในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๓ ยังคงเป็นที่ปรากฏในหมู่ประชาชน ทั้งในเรื่องการแคล้วคลาด ภยันตรายจากอุบัติภัยทั้งปวง ทำให้พระหลวงพ่อโตกรุแตกทุกรุ่น มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลควรทราบ
                   ๑.พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๓ นี้ใช้พิมพ์เดียวกันกับพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒ทุกประการ  อาจจะแตกต่างบริเวณยันต์หลวงปู่พุฒิที่อยู่ด้านหลังองค์พระ ที่มีบางจุดมีร่องใหญ่กว่าในรุ่น
พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒ เพราะการสึกกร่อนของแม่พิมพ์ที่ใช้งานมานาน
                   ๒.พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๓ นี้ไม่มีการนำไปเก็บในห้องใต้ฐานอุโบสถแต่อย่างใด สร้างออกมาจำหน่ายจ่ายแจกจนหมด ดังนั้นจะไม่มีคราบของปูนทรายหรือสนิมจากความชื้นแต่อย่างใด
                   ๓.คุณภาพของเนื้อทองเหลืองที่ใช้ในการสร้างองค์พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๓นี้มีคุณภาพสม่ำเสมอ สนิมที่เกิดขึ้นจึงมีน้อย ผิวมีการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำทั่วองค์พระ สามารถพิจารณาความคมชัดของเนื้อองค์พระ จะเห็นรายละเอียดร่องลายและยันต์หลวงปู่พุฒิอย่างชัดเจน

ที่มา : หนังสือกรุแตกรุ่น ๑ หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใจ จ.สมุทรปราการ

ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับพระรุ่นนี้ แวะมาแชร์ข้อมูลกันได้ที่ช่องแสดงความคิดเห็นนะครับ

ขอบคุณที่ติดตามครับ

หนุ่ย บางพลี

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน สมุทรปราการ รุ่นกรุแตก2

หนุ่ย บางพลี 

พระหลวงพ่อโต กรุแตกรุ่น ๒
จำนวนพิมพ์              พิมพ์
ปีที่สร้าง                  พ.ศ. ๒๕๒๓
จำนวนสร้าง            ๕,๐๐๐  องค์
ขนาด                      กว้าง  ๓ เซนติเมตร  x  สูง  ๔.๔ เซนติเมตร
ลักษณะองค์พระ     พระหลวงพ่อโตพิมพ์ปางมารวิชัย  ออกแบบตามศิลปะของพระพุทธรูปสมัย  เขมร-ลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๑๙  แบบเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำด้วยทองเหลือง ตัดขอบตามองค์พระ พร้อมฐานกลีบบัว  ด้านหลังองค์พระเป็นยันต์หลวงปู่พุฒิ
รูปตัวอย่างพระรุ่นกรุแตก 2 แบบคราบกรุดั้งเดิม


รูปด้านหลัง (มียันต์พุฒ)
รูปตัวอย่าง กรุแตกรุ่น 2 แบบล้างผิว



ประวัติ
               พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒ ได้มีการสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ด้วยดำริของหลวงปู่พุฒิ(พระครูวุฒิธรรมสุนทร) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น โดยใช้ต้นแบบคือหลวงพ่อโตรุ่นที่๑ พิมพ์หลังผ้า พิมพ์สามกษัตริย์รุ่น๒ และพิมพ์บพเนื้อทองผสมจากนั้น   จากการที่ได้สร้างพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๑ เสร็จแล้ว เห็นความสวยงามในความเป็นลักษณะโบราณขององค์พระ แต่ด้วยเกรงว่า  หากระยะเนิ่นนานไปประชาชนจะเข้าใจผิดว่าเป็นพระที่มีการสร้างลอกเลียนแบบ  หลวงปู่พุฒิจึงให้มีการประทับยันต์ของหลวงปู่พุฒิไว้ที่ด้านหลังองค์พระ  จึงเป็นความแตกต่างระหว่างหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น๑และ๒  หลังจากนั้นจึงได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก และออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายจึงได้นำพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๑และ๒ รวมกันไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บใต้อุโบสถ
               ในปลายปี ๒๕๒๖ ได้มีการนำพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒ หลังเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในเขตภาคกลาง   ซึ่งรวมถึงพื้นที่อำเภอบางพลี  จังหวัดสมุทรปราการ พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒จะมีสภาพการเกาะตัวของปูนทรายทั่วทั้งองค์พระเช่นเดียวกันกับพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๑ ซึ่งได้รับความนิยมจนสามารถจำหน่ายหมดในระยะเวลาที่รวดเร็ว โดยในระยะแรกเปิดให้ประชาชนเช่าในราคา๒๕ บาทแล้วจึงปรับราคาเป็น ๑๐๐ บาทในภายหลัง

ประสบการณ์  
                  ความศักดิ์สิทธิ์ของพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒ นี้มีประชาชนทั่วไปรับประสบการณ์มากมาย  ทั้งในเรื่องเมตตามหานิยม  คงกระพัน  โดยเฉพาะพุทธานุภาพในการช่วยให้ผู้ครอบครองติดตัว แคล้วคลาด จากอุบัติภัยทั้งปวงได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกันกับพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๑

ข้อมูลควรทราบ
                   ๑.พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒ นี้ใช้พิมพ์เดียวกันกับพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๑ เพียงแต่ประทับยันต์ของหลวงปู่พุฒิไว้ด้านหลังองค์พระ
                   ๒.พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒ ควรมีคราบปูนทรายเกาะแน่นติดองค์พระ (การเกาะตัวของปูนทรายมีมากกว่า๒๔ปี เพราะหากมีการลอกผิวออกจะไม่สามารถแบ่งได้เลยว่าเป็นพระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่นใด
                   ๓.หากมีการนำองค์พระหลวงพ่อโตกรุแตกรุ่น ๒นี้ไปล้างผิวด้วยน้ำยา (โดยไม่ต้องขัดด้วยแปรงหรือเครื่องขัด) จะได้องค์พระที่มีสีของกะไหล่ทองเหลืองเกาะทั้งองค์ ด้วยเพราะมีการใช้ทองเหลืองเนื้อดีจากฐานพระพุทธรูปบูชา ถาดทองเหลือง ขันลงหิน และทองเหลืองอื่นๆที่เป็นวัสดุเหลือใช้ในวัดมาจัดสร้างองค์พระ

ที่มา : หนังสือกรุแตกรุ่น ๑ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมุทรปราการ

ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับพระรุ่นนี้ หรือมีประสบการณ์ เล่าสู่กันฟังได้นะครับที่ช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่าง

ขอบคุณที่ติดตามครับ

หนุ่ย บางพลี